15348 จำนวนผู้เข้าชม |
JAR TEST
การทดสอบการสร้างตะกอนเป็นปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านการบำบัดน้ำ สำหรับการทำน้ำประปาและการบำบัดน้ำเสีย ปริมาณและชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการสร้างตะกอนจำเป็นต้องเหมาะสมกับลักษณะสมบัติของน้ำที่ต้องการทดสอบ เพื่อประสิทธิภาพมากที่สุด
หลักการ
การสร้างตะกอนเป็นกระบวนการทำให้อนุภาคแขวนลอยขาดเสถียรภาพ การเติมสารเคมีในน้ำเนื่องจากลักษณะสมบัติของน้ำในธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สถานที่การใช้สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสม จึงต้องอาศัยการทดสอบที่เรียกว่า “Jar Test” ซึ่งเป็นการทดสอบหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของการเติมสารเคมีและการผสมสารเคมีสำหรับการตกตะกอน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ Jar Test ส่วนใหญ่เป็นชุดของอุปกรณ์ที่สามารถทำงานพร้อมกันในการทดลองเดียว ซึ่งการทำ Jar Test มีประโยชน์หลายประการ คือ
1. เปรียบเทียบผลของการใช้สารเคมีสร้างตะกอน (ความเข้มข้น, ชนิดของสารเคมี)
2. ได้ค่า pH ที่เหมาะสม
3. การเติมและควบคุมความเป็นด่าง
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดตะกอน
5. เงื่อนไขที่เหมาสมด้านพลังงานที่ใช้ในการกวนเร็ว กวนช้า
6. การทดสอบอื่นๆ เช่น ค่า Zeta Potential (Electrophoretic Mobilit)
ก่อนทำการ Jar Test ควรวิเคราะห์น้ำตัวอย่างเบื้องต้น เช่น วัดค่า pH ความขุ่น ความเป็นด่าง เป็นต้น
การทดลองหาปริมาณสารเคมี (JAR TEST)
การหาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในระบบประปาด้วยวิธีทางเคมีถือว่าจำเป็นมาก การทดลองสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเทน้ำดิบที่ต้องการผลิตน้ำประปาลงในบีกเกอร์หลายใบวางเรียงกัน หลังจากนั้น ค่อยๆเติมสารเคมีในปริมาณที่แตกต่างกันลงในบีกเกอร์แต่ละใบและทำการกวนให้เข้ากัน แล้ววัดค่า pH แล้วปล่อยให้ตกตะกอนจนได้น้ำใส สังเกตุการเกิดตะกอน และการตกตะกอน เลือกค่า pH และปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมที่สุดไปใช้